ส่วนของนาซีเยอรมนี ของ ประวัติศาสตร์เยอรมนี (ค.ศ. 1945–1990)

4 ดินแดนที่ถูกยึดครอง

ในการประชุมพ็อทซ์ดัม ในวันที่ 17 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1945 หลังจากเยอรมนีประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945[6] ฝ่ายสัมพันธมิตรได้แบ่งดินแดนนาซีเยอรมนีออกเป็น 4 ส่วน มอบให้ 4 ประเทศไปปกครอง ได้แก่ฝรั่งเศส ปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักรปกครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ สหรัฐปกครองดินแดนตอนใต้ และสหภาพโซเวียต ปกครองภาคตะวันออก พวกเขามุ่งหน้าไปทางตะวันออกโดยใช้เส้นพรมแดนออเดอร์-นีสเซ ที่พ็อทซ์ดัม 4 ดินแดนเหล่านี้เรียกอีกอย่างคือ "เยอรมนีภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร" และประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรทั้ง 4 ประเทศใช้สิทธิจากอำนาจอธิปไตยที่พวกเขามีอยู่ในขณะนั้นอ้างว่าเยอรมนียอมรับในหลักการส่งดินแดนนาซีเยอรมนีบางส่วนรวมทั้งดินแดนทางตะวันออกให้กับโปแลนด์และสหภาพโซเวียตในอนาคต พื้นที่ภาคตะวันออกของเยอรมนีบางส่วนจึงอยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์และสหภาพโซเวียตจนกระทั่งสนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนีถูกบังคับใช้ แต่ความจริงแล้วดินแดนพวกนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอธิปไตยของพวกเขาทันที

นอกจากนี้ ภายใต้ประกาศเบอร์ลินของฝ่ายสัมพันธมิตร ดินแดนที่เคยเป็นนาซีเยอรมนีเดิมก็จะถือว่าเป็นพื้นที่ภายในพรมแดนของแต่ละประเทศตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ทั้งนี้ การขยายดินแดนนาซีทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 - 1945 ถือเป็นการปฏิบัติที่ผิดของเยอรมนีโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การขยายตัวดังกล่าวประกอบด้วยสันนิบาตชาติที่ปกครองนครรัฐดันซิก

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้